วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง

 

 

 

ที่มา : (อนุรักษ์ ขัติติมะ, 2555)

 

               ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจากดินแดนแคว้นสิบสองปันนา มนฑลยูนนา ประเทศจีน และสั่งสมสืบเนื่องภูมิปัญญาการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การทอผ้าเริ่มหายไปเป็นเวลานานถึง 10 ปี เนื่องมาจากการเกิดสงครามนั้นทำให้ต้นฝ้าย  และข้าวของวัสดุในการทอผ้าเสียหาย ผู้คนได้หันมาทำไร่ ทำนา แทนการทอผ้า
                       ต่อ มาแม่อุ้ยเมือง พิมสารี ตอนอายุ 50 ปี ได้ริเริ่มฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าไทลื้อขึ้นมา ซึ่งแม่อุ้ยเมืองได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับผ้าทอที่ได้ถูกสั่งสมมาจาก บรรพบุรุษจึงไม่อยากให้ภูมิปัญญาผ้าทอไทลื้อได้สูญหายไป จึงไปขอซื้ออุปกรณ์การทอผ้าทั้งหมดที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านยังมีเหลือ อยู่หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยซื้อมาด้วยราคา 50 บาท (ในสมัยก่อนค่าเกิดจะถูก) ตั้งแต่นั้นแม่อุ้ยเมืองก็เริ่มทอผ้ามาจนถึงปัจจุบัน และได้รวมกลุ่มกันสมาชิกกลุ่มผ้าทอไทลื้อในบ้านแม่สาบขึ้น ในปัจจุบันสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อได้เลิกทอกันแล้ว เหลือแต่แม่อุ้ยเมืองที่ยังทำเป็นอาชีพอยู่ (แม่อุ้ยเมือง พิมสารี, (2555, กันยายน 1), สัมภาษณ์)

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทลื้อ

 

 

ที่มา : (อนุรักษ์ ขัตติมะ, 2555)



การแต่งกายชุดไทลื้อผู้ชาย
ใส่กางเกงสะดอ  สวมเสื้อที่ย้อมด้วยต้นฮ่อม สีกรมท่าและสีดำ 


การแต่งกายชุดไทลื้อผู้หญิง
ใส่ผ้าซิ่นที่ทอเป็นลายก่าน(ลายขวางสลับสีดำแดง หัวซิ่นและตีนซิ่นเป็นแถบสีดำ) บางตัวก็มีลวดลาย เช่น ลายขิด  สวมเสื้อผ่าอกที่ป้ายไปกลัดกระดุมไว้ด้านข้าง  บางตัวก็กลัดกระดุมตรงธรรมดา เสื้อมีทั้งสีดำและสีขาว  เกล้าผมที่เรียกว่า หลักโง” (โง หรือ งัว หรือ  วัว) คือ เกล้ามวยไว้กลางศีรษะ บางคนก็เกล้าแบบ
 “โหมะง่อน” (โหมะ คือ โปะ , ง่อน คือ ท้ายทอย) แล้วโพกหัวด้วยผ้าสีขาว

การทอผ้า ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบ

ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบ

 

ที่มา : (อนุรักษ์ ขัตติมะ, 2555)

              ผืนผ้าที่ทอ จากอดีตถึงปัจจุบันล้วนแต่สร้าขึ้นจากธรรมชาติทั้งสิ้น ทั้งที่ได้จากพืชและสัตว์เช่นจากใยฝ้าย จากรังไหม จากเปลือกไม้ชนิดต่างๆเช่นปอ ป่าน เปผ้นต้น วัตถุดิบแต่ละชนิดให้ผิวสัมผัสแตกต่างกันไปและเส้นใยธรรมชาติที่นิยมมากที่ สุดคือเส้นใยจากดอกฝ้ายและรังไหม (วิถี พานิชพันธ์, 2547, 3)
                ชาวไทลื้อในหมู่บ้านแม่สาบในยุคก่อน จะทอผ้าใช้เอง สำหรับใช้ในการนุ่งห่ม หรือการใช้สอยอื่นๆเช่น  เสื้อ   ซิ่น   ผ้าหลบ(ผ้าปูที่นอน)   ผ้าแหลบ(ที่นอนบาง)   สลี(ที่นอนผ้าต๊วบต๋าเอิ้น(ผ้าห่ม)    ผ้าเช็ดน้อย   ผ้าเช็ดหลวง   ตุง   กำปีหัวธรรม(ผ้าห่อใบลาน)   ผ้า ต่อง   ผ้าพันหัว  ผ้าสไบ  ถุงย่าม  เป็นต้น ลวดลายที่ปักบนผ้าทอมีหลายแบบ และมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น รูปช้าง รูปม้า เขี้ยวหมา จี๋ดอกเปา ประสาท งูลอย เขี้ยวหมาสำกระแจ๋สำ เหล่มผิด (ทัศนีย์ กาตะโล, 2545 ,18)


วัตถุดิบในการทอผ้า

ฝ้าย              
ฝ้ายเป็นพืชล้มลุก แต่ต้นให้ดอกจำนวนมากลักษณะของดอกเป็นปุยแลดูคล้ายกับขนมถ้วยฟูปุยเนื้อข้างในขยายตัวออกมาเป็นสีนวลจึงใช้ส่วนนี้มาทำเส้นใย

ไหม
ไหมเป็นแมลงหนอนด้วงชนิดหนึ่งที่ฟักตัวเป็นดักแด้ก่อนที่จะกลายเป็นผีเสื้อ มนุษย์เรียนรู้การนำใยจากรังดักแด้หรือรังไหมนั้นมาผ่านกรรมวิธีเป็นเส้น 







ถ้าหากต้องการฝ้ายสีอื่นๆ ก็จะย้อมผ้าโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น
สีเหลือง  ย้อมด้วย  ขมิ้น 
สีแดง     ย้อมด้วย  บ่ะกาย 
สีเทา      ย้อมด้วย  เปลือกมะพร้าว 
สีเขียว    ย้อมด้วย  ใบไม้เหียว 
สีดำ, กรมท่า    ย้อมด้วย  ใบฮ่อม
                การย้อมผ้า ช่างทอผ้าอาจจะย้อมด้วยตัวเอง แต่จากการบอกเล่า จะมีช่างย้อมผ้าประจำหมู่บ้าน เนื่องจากช่างย้อมผ้าจะมีความชำนาญในการย้อมผ้า ได้ผ้าที่สีสวย เรียบ ติดทนนาน (แม่อุ้ยมูล อุทธาปา, (2545, สิงหาคม 17), สัมภาษณ์ อ้างใน ทัศนีย์ กาตะโล. 2545, 19)


 ช่วงเวลาการทอผ้า
การทอผ้าถือเป็นงานฝีมืออย่างหนึ่งที่ทำจากความประณีต จากการสั่งภูมิปัญญาและเกิดขึ้นเป็นความชำนาญจนสามารถได้ผ้าทอที่มีรูปลายสวยงาม
ทอผ้าอย่างน้อยจะได้วันละ 1 ผืน ทอสำหรับ อาทิ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้ารองจาน ปลอกหมอน ส่วนถ้าเป็นชุดแต่งกายไทลื้อ ถ้าเป็นเสื้อประมาน 3-6 อาทิตย์ ผ้าซิ่นประมาน 1 เดือนหรือเดือนครึ่ง ผ้าสไป 1 วัน ผ้าโพกหัว 1 วัน เสร็จ (เมือง พิมสาสี, (2555, กันยายน 1), สัมภาษณ์ )




วัสดุ/อุปกรณ์ในการทอผ้า

วัสดุและอุปกรณ์/การเตรียมด้าย ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดั้งนี้

                1. ดอกหวิง เป็นอุปกรณ์สำหรับหมุนเพื่อกรอเส้นด้ายสีต่างๆเข้าหลอดด้าย มีลักษณะคล้ายกังหันลมมีแกนกลางวางบนฐานไม้สองข้าง ส่วนกลางของ ดอกหวิงมี ช่องสำหรับใส่เส้นด้าย

                 2. ไน เป็นอุปกรณ์กรอเส้นด้ายอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นช่องสำหรับใส่แกนม้วนด้ายซึ่งผูกโยงกับดอกหวิง ปัจจุบันมีการนำมอเตอร์ไฟฟ้ามาเป็นตัวช่วยหมุน เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าทำงาน เส้นด้ายในดอกหวิงจะหมุนด้ายมาเก็บไว้ในแกนม้วนด้าย

                  3. หลอดด้ายค้น ( ลูกค้น ) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 นิ้ว จำนวน 152 หลอด หลอดค้นทำจากไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันใช้ท่อน้ำพลาสติกแทน

                 4. รางค้น เป็นอุปกรณ์สำหรับเรียงหลอดด้ายค้น เพื่อเตรียมไว้สำหรับขั้นตอนการเดินเส้นด้ายต่อไป รางค้นมีลักษณะเป็นแถว 2 ชั้น มีแกนสำหรับใส่หลอดด้ายค้นจำนวน 152 แกนอยู่บนเสาสูงประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 5-8 เมตร
                 5. หลักค้น เป็นอุปกรณ์สำหรับพันเส้นด้ายที่ค้นตามจำนวนความยาวที่ต้องการมีลักษณะ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 5-8 เมตร ที่หัวหลักค้นมีหลักสูงประมาณ 6 นิ้ว จำนวนประมาณ 20 หลักอยู่ทั้งสองด้าน

               6. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงามมาก

              7. ตะขอเกี่ยวด้าย ( เบ็ดเข้าฟืม ) เป็นอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวเส้นด้ายเข้าฟืม ทำด้วยเหล็กยาวประมาณ 8 นิ้ว ส่วนปลายทำเป็นตะขอไว้สำหรับเกี่ยวเส้นด้ายเข้าฟืม ซึ่งเส้นด้ายทุกเส้น จะต้องใช้ตะขอเกี่ยวด้ายสอดไว้ในฟืมจนเต็มทุกช่อง

                8. เครื่องรองตอนเข้าฟืม

                9. ลูกหัด ( ระหัด ) เป็นอุปกรณ์สำหรับม้วนเก็บเส้นด้ายที่ค้นเสร็จแล้ว มีลักษณะคล้าย ระหัดวิดน้ำ ซึ่งอยู่ที่ด้านปลายของแกนระหัดทั้งสองด้าน โดยหมุนม้วนเส้นด้ายเก็บไว้เพื่อเตรียมใส่ในเครื่องทอผ้า

                10. ไม้นัด เป็นไม้ที่สอดอยู่ในช่องด้ายยืน เพื่อช่วยให้ด้ายไม่พันกัน 

                11. ไม้ขัดด้าย หรือฟันปลา เป็นอุปกรณ์สำหรับขัดระหัดม้วนผ้าเพื่อไม่ให้ระหัดม้วนผ้า
ขยับเขยื้อนได้ ทำให้เส้นด้ายตึงอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงขั้นตอนการทอผ้าก็จะง่ายขึ้น

                12. เครื่องม้วนด้าย ใช้สำหรับม้วนด้ายเข้าหลอดด้ายยืน



วัสดุและอุปกรณ์/กี่ทอผ้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

               1. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงามมาก

               2. เขาหูก หรือ ตะกอ / ตระกอ คือส่วนที่ใช้สอดด้ายเป็นด้ายยืน และแบ่งด้ายยืนออก เป็นหมู่ๆ ตามต้องการ เพื่อที่จะพุ่งกระสวยเข้าหากันได้สะดวก เขาหูกมีอยู่ 2 อัน แต่ละอันเวลาสอดด้ายต้องสอดสลับกันไปเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่ง ที่เขาหูกจะมีเชือกผูกแขวนไว้กับด้านบน โดยผูกเชือก เส้นเดียวสามารถจะเลื่อนไปมาได้ส่วนล่างผูกเชือกติดกับคานเหยียบหรือตีนเหยียบไว้ เพื่อเวลา ต้องการดึงด้ายให้เป็นช่องก็ใช้เท้าเหยียบคานเหยียบนี้ คานเหยียบจะเป็นตัวดึงเขาหูกให้เลื่อนขึ้นลง ถ้าหากต้องการทอเป็นลายๆ ก็ต้องใช้คานเหยียบหลายอัน เช่น ลายสองใช้คานเหยียบ 4 อัน เรียก ทอ 4 ตะกอ ลายสามใช้คานเหยียบ 6 อัน เรียก ทอ 6 ตะกอ จำนวนตะกอที่ช่างทอผ้าเกาะยอใช้ มีตั้งแต่ 2–12 ตะกอ ผ้าผืนใดที่ทอหลายตะกอถือว่ามีคุณภาพดีมีลวดลายที่ละเอียด สวยงาม และมีราคาแพง

               3. กระสวย คือไม้ที่เป็นรูปเรียวตรงปลายทั้งสองข้าง ตรงกลางใหญ่ และมีร่องสำหรับใส่หลอดด้ายพุ่ง ใช้สำหรับพุ่งสอดไปในช่องด้ายยืนระหว่างการทอผ้า หลังจากที่ช่างทอเหยียบคานเหยียบให้เขาหูกแยกเส้นด้ายยืนแล้ว

               4.ไม้แกนม้วนผ้า หรือ ไม้กำพั่น ชาวบ้านเกาะยอเรียกว่า พั้นรับผ้า เป็นไม้ที่ใช้ สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว ไม้แกนม้วนผ้ามีขนาดความยาวเท่ากับกี่หรือเท่ากับความกว้างของหน้าผ้า

               5. คานเหยียบ หรือ ตีนเหยียบ เป็นไม้ใช้สำหรับเหยียบเครื่องบังคับตะกอ เพื่อให้เชือก ที่โยงต่อมาจากเขาหูกหรือตะกอดึงด้ายยืนให้แยกออกเป็นหมู่ ขณะที่ช่างทอพุ่งกระสวยด้ายพุ่ง เข้าไปขัดด้ายยืนให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
               6. สายกระตุก หรือ เชือกดึงเวลาพุ่งกระสวย จึงเกิดศัพท์ว่า “กี่กระตุกโดยช่างทอผ้าจะใช้มือข้างหนึ่งกระตุกสายเชือกนี้ กระสวยก็จะแล่นไปแล่นมาเอง และใช้มืออีกข้างดึงฟืมให้กระแทก เนื้อผ้าที่ทอแล้วให้แน่น
                7. ระหัดถักด้าย เป็นไม้ระหัดสำหรับม้วนด้ายยืน

               8. หลอดด้ายพุ่ง เป็นหลอดไม้ไผ่ที่บรรจุด้ายสีต่าง ๆ สอดอยู่ในรางกระสวยเพื่อใช้พุ่ง ไปขัดด้ายยืนในขณะที่ช่างทอกำลังทอผ้าและกระตุกสายกระตุกไปหลอดเส้นด้ายพุ่งก็จะพุ่งไปขัดกับ เส้นด้ายยืนเกิดเป็นลายผ้าตามต้องการ

    9. หลอดด้ายยืน เป็นหลอดด้ายหลักที่ขึงอยู่ในกี่โดยสอดผ่านฟืมเรียบร้อยแล้ว มีลักษณะ อยู่ในแนวตั้ง

    10. ผัง เป็นไม้สำหรับค้ำความกว้างของผ้าให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม เพื่อว่าจะได้สะดวก เวลาทอ และเส้นด้ายตรงลายไม่คดไปคดมา ด้านหัวและด้านท้ายของผังจะผูกเข็มไว้เพื่อใช้สอดริมผ้าทั้งสองข้าง

              11. ไนปั่นด้าย เป็นอุปกรณ์ที่แยกออกมาจากกี่ทอผ้า ใช้สำหรับปั่นด้ายเข้ากระสวย และปั่นด้ายยืนเข้าระหัดถักด้าย

ขั้นตอนการทอผ้า

 

 

 

ขั้นตอนการทอผ้ามีดังนี้

1. ปลูกฝ้ายในเดือนแปด เดือนเก้า เก็บฝ้ายในเดือนเกี๋ยงถึงเดือนยี่
2. เก็บเอาฝ้ายมารวมกัน นำมาตาก แล้วเอาสิ่งที่ปนมากับฝ้ายออก

3. นำมาอีดฝ้าย คือ เอาเมล็ดของฝ้ายออก เหลือเฉพาะยวงฝ้าย
4. นำยวงฝ้ายมา “ปดฝ้ายคือ ทำให้ฝ้ายกระจายตัว ในเข้ากันได้ดี
5. นำมา “ฮำคือ พันป็นหางฝ้าย
6. นำฝ้ายที่ได้มาปั่นด้วยเครื่องปั่นฝ้าย(ทำฝ้ายจากที่เป็นหางให้เป็นเส้นฝ้าย)
7. นำมา “เป๋ฝ้ายคือนำเส้นไหมที่ได้จากการปั่นฝ้ายมาทำเป็นต่อง (ไจ)
8. นำต่องฝ้ายมา “ป้อ”(ทุบ) ฝ้าย แช่น้ำ 2 คืน ต่อมานำมานวดกับน้ำข้าว(ข้าวเจ้า) ผึ่งไว้ให้แห้ง
9. นำเส้นฝ้ายที่ได้มา “กวักฝ้าย
10. นำมา “ฮ้วน” (เดินเส้น) กับหลักเสา
11. นำไปใส่กี่ แล้วนำไปสืบกับ “ฟืม
12. ฝ้ายที่เหลือจากการใส่กี่ นำมาปั่นใส่หลอด แล้วเอาหลอดฝ้ายใส่สวยทอ(กระสวยทอผ้า)
      (แม่อุ๊ยเมือง พิมสารี,(2555, กันยายน 1 ), สัมภาษณ์)




ลวดลายของผ้าทอไทลื้อ

               การทอผ้าลายขิดของไทลื้อนั้น เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคนกลุ่มไทลื้อ  ผ้าขิดของไทลื้อ มีทั้งลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นลายม้า ลายช้าง ลายสสิงห์ ลายนก ลายขอ ลายดอกแก้ว และลายดอกจันทน์ เป็นต้น ลวดลายที่เกิดจากความเชื่อถือศรัทธาพระพุทธศาสนาขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายพญานาค ลายหงห์ ลายปราสาท ลายพานพุ่มดอกไม้ และลายช่างฟ้อนถือช่อดอกไม้ ฯลฯ(ผ้าลายขิด ผ้าเช็ด ไทลื้อ,ม.ป.ป) นอกจากนี้แล้วลวดลายที่ปักบนผ้าทอมีหลายแบบ เช่น รูปช้าง รูปม้า เขี้ยวหมา จี๋ดอกเปา  ผาสาท งูลอย เขี้ยวหมาสำ กระแจ๋สำ เหล่มผิด (ทัศนีย์  กาตะโล, 2545, 18)





ผ้าทอลายช้าง









ผ้าทอลายม้า



ผ้าทอลายดอกเหล่มผิด





ลวดลายของผ้าทอแบบต่างๆ

ผู้ให้ความรู้

 

 

ชื่อ-นามสกุล  นางเมือง พิมสารี (ยายเมือง)  
วันเดือนปีเกิด 3 สิงหาคม 2476      อายุ 79 ปี
อาชีพ  ทอผ้า
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 19 หมู่ 1 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250
เบอร์โทรศัพท์ 082-1959877









ชื่อ-นามสกุล  นางสาวทัศนีย์ กาตะโล
วันเดือนปีเกิด 11 ธันวาคม 2520       อายุ  35 ปี
อาชีพ  รับราชการครู
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 121 หมู่ 1 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250
เบอร์โทรศัพท์ 086-1865966










ชื่อ-นามสกุล  นายอนุรักษ์ ขัตติมะ
วันเดือนปีเกิด 26  พฤษภาคม 2527            อายุ  28  ปี
อาชีพ  เกษตรกรรม
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 99  หมู่ 1 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250
เบอร์โทรศัพท์  084-8859098

คณะผู้จัดทำ


                                                                                      

นางสาวกัญญารัตน์  เก่งกาจ

นางสาวศุภักษณาเพ็รชหาญ

นางสาวพิมพิ์ผกา  ทองออน

นางสาวเกศิณี วันมหาใจ

นายวัชระ  เขื่อนเพรช