ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบ
ที่มา : (อนุรักษ์ ขัตติมะ, 2555) |
ผืนผ้าที่ทอ
จากอดีตถึงปัจจุบันล้วนแต่สร้าขึ้นจากธรรมชาติทั้งสิ้น
ทั้งที่ได้จากพืชและสัตว์เช่นจากใยฝ้าย จากรังไหม
จากเปลือกไม้ชนิดต่างๆเช่นปอ
ป่าน เปผ้นต้น
วัตถุดิบแต่ละชนิดให้ผิวสัมผัสแตกต่างกันไปและเส้นใยธรรมชาติที่นิยมมากที่
สุดคือเส้นใยจากดอกฝ้ายและรังไหม (วิถี พานิชพันธ์, 2547, 3)
ชาวไทลื้อในหมู่บ้านแม่สาบในยุคก่อน
จะทอผ้าใช้เอง สำหรับใช้ในการนุ่งห่ม หรือการใช้สอยอื่นๆเช่น เสื้อ
ซิ่น ผ้าหลบ(ผ้าปูที่นอน) ผ้าแหลบ(ที่นอนบาง) สลี(ที่นอน) ผ้าต๊วบต๋าเอิ้น(ผ้าห่ม) ผ้าเช็ดน้อย ผ้าเช็ดหลวง
ตุง กำปีหัวธรรม(ผ้าห่อใบลาน) ผ้า
ต่อง ผ้าพันหัว ผ้าสไบ
ถุงย่าม เป็นต้น ลวดลายที่ปักบนผ้าทอมีหลายแบบ และมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น
รูปช้าง รูปม้า เขี้ยวหมา จี๋ดอกเปา ประสาท งูลอย เขี้ยวหมาสำกระแจ๋สำ
เหล่มผิด (ทัศนีย์ กาตะโล, 2545 ,18)
วัตถุดิบในการทอผ้า
ฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชล้มลุก
แต่ต้นให้ดอกจำนวนมากลักษณะของดอกเป็นปุยแลดูคล้ายกับขนมถ้วยฟูปุยเนื้อข้างในขยายตัวออกมาเป็นสีนวลจึงใช้ส่วนนี้มาทำเส้นใย
ไหม
ไหมเป็นแมลงหนอนด้วงชนิดหนึ่งที่ฟักตัวเป็นดักแด้ก่อนที่จะกลายเป็นผีเสื้อ
มนุษย์เรียนรู้การนำใยจากรังดักแด้หรือรังไหมนั้นมาผ่านกรรมวิธีเป็นเส้น
ถ้าหากต้องการฝ้ายสีอื่นๆ
ก็จะย้อมผ้าโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น
สีเหลือง ย้อมด้วย
ขมิ้น
สีแดง ย้อมด้วย
บ่ะกาย
สีเทา ย้อมด้วย
เปลือกมะพร้าว
สีเขียว ย้อมด้วย
ใบไม้เหียว
สีดำ, กรมท่า ย้อมด้วย
ใบฮ่อม
การย้อมผ้า ช่างทอผ้าอาจจะย้อมด้วยตัวเอง แต่จากการบอกเล่า
จะมีช่างย้อมผ้าประจำหมู่บ้าน เนื่องจากช่างย้อมผ้าจะมีความชำนาญในการย้อมผ้า
ได้ผ้าที่สีสวย เรียบ ติดทนนาน (แม่อุ้ยมูล อุทธาปา, (2545, สิงหาคม 17), สัมภาษณ์ อ้างใน ทัศนีย์ กาตะโล. 2545, 19)
ช่วงเวลาการทอผ้า
การทอผ้าถือเป็นงานฝีมืออย่างหนึ่งที่ทำจากความประณีต
จากการสั่งภูมิปัญญาและเกิดขึ้นเป็นความชำนาญจนสามารถได้ผ้าทอที่มีรูปลายสวยงาม
ทอผ้าอย่างน้อยจะได้วันละ
1 ผืน ทอสำหรับ อาทิ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้ารองจาน ปลอกหมอน
ส่วนถ้าเป็นชุดแต่งกายไทลื้อ ถ้าเป็นเสื้อประมาน 3-6 อาทิตย์ ผ้าซิ่นประมาน 1
เดือนหรือเดือนครึ่ง ผ้าสไป 1 วัน ผ้าโพกหัว 1 วัน เสร็จ (เมือง พิมสาสี, (2555,
กันยายน 1), สัมภาษณ์ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น